วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

รัฐประหารครั้งที่ 9 : 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

รัฐประหารครั้งที่ 9 วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช


 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์

สาเหตุ
เนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา รัฐบาลพลเรือนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
สถานการณ์รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.. 2519
รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.. 2519 เป็ นการรัฐประหารครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นในเวลา 18.00 . ของวันที่ 6 ตุลาคม พ.. 2519 อันเนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลารัฐบาลพลเรือนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
โดยคณะนายทหารได้เชิญหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไปปรึกษาหารือที่กองบัญชาการทหารสูงสุดที่สนามเสือป่ า รวมทั้งได้ร่วมรับประทานอาหารโต๊ะจีนและพักค้างคืนด้วยกัน จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม หม่อมราชวงศ์เสนีย์จึงลากลับไป
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย โดยประกาศฉบับหนึ่งที่ความสำคัญคือประกาศฉบับที่ 5 ที่ว่าด้วยการควบคุมสื่อมิให้เผยแพร่ภาพและเนื้อหาที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลาเป็นเวลา 3 วัน คือตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม - 9 ตุลาคม ซึ่งในช่วงเวลา 3 วันนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยจนบัดนี้ที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับถูกห้ามตีพิมพ์และจัดจำหน่าย และประกาศคณะปฏิรูปฉบับนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงสื่อทุกสื่อรวมถึงโทรทัศน์ด้วย
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยที่คณะรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีคณะรัฐมนตรีเพียง 17คนเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้แก่ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ นั่นเอง ซึ่งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อมาว่า รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า รัฐบาลหอย
รัฐบาลคณะนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างขวาตกขอบ มีการจับกุมและทำร้ายผู้ที่สงสัยว่าอาจกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2519 มาตราที่ 21 จึงทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด
แต่ทว่า การดำเนินงานของคณะรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประสบกับปัญหาตลอด ทั้งเหตุการณ์การก่อการร้ายโดยคอมมิวนิสต์ และปัญหาภายในรัฐบาลเอง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นไปด้วยความล่าช้าอีกทั้งบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่ออกมามีแผนพัฒนาประชาธิปไตยนานถึง 3 ขั้น กินเวลา 12 ปี ไม่ทันการกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ การเกิดเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคมพ.. 2520 โดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ การปราบปรามผู้ที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นจนหลายครั้งปราศจากการตรวจสอบ ส่งผลให้มีนักศึกษาและปัญญาชนจำนวนมากที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลต้องหลบหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)สถานการณ์ของประเทศเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ จึงกระทำการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.. 2520 และแต่งตั้ง พลเอก เกรียงศักด์ิ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน สถานการณ์ต่างๆจึงเริ่มคลี่คลาย เมื่อรัฐบาลพลเอก เกรียงศักด์ิ ชมะนันท์ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนที่หลบหนีเข้าป่ า จึงเริ่มทยอยกลับคืนสู่เมืองอีกครั้ง
อนึ่ง ในวันรัฐประหารเมื่อคืนวันที่ 6 ตุลาคม พ.. 2519 นั้น หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชได้บันทึกไว้ในหนังสือชีวลิขิต ซึ่งเป็นหนังสืออัตชีวประวัติของท่าน ได้บอกว่า คณะปฏิรูป ฯ จะให้ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ท่านตอบปฏิเสธ และขอให้ท่านรับเป็นหัวหน้าในการรัฐประหารครั้งนี้ ซึ่งท่านก็ตอบปฏิเสธอีก พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้บอกกับท่านว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำการยึดอำนาจ ไม่เช่นนั้นทหารอีกกลุ่มจะทำการในเวลา 04.00 . ของวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สันนิษฐานว่า อาจเป็นคณะของ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ อีกทั้งก่อนหน้านั้น พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้เคยเตือนท่านมาครั้งหนึ่งว่า ทหารจะกระทำการรัฐประหารและมีผู้ชักชวนท่านให้ทำการด้วย อีกทั้งท่านยังสงสัยในพฤติกรรมของบุคคลร่วมรัฐบาลบางคน ในการประชุมสถานการณ์ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากเข้า ๆ ออก ๆ ที่ประชุมตลอด ว่าอาจรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มบุคคลที่เข้าทำร้ายกลุ่มนักศึกษาผู้ชุมนุมหรือรู้เห็นเป็นใจกับคณะนายทหารอีกคณะหนึ่งที่ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อ้างว่าจะทำการรัฐประหาร







ที่มา
 http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2554/poli20954sn_ch4.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น