วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

รัฐประหารครั้งที่ 1 : 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รัฐประหาร 1 เมษายน พ ศ 2476


เป็นเหตุการณ์ที่พระยามโนปรณ์นิติธาดาทำการรัฐประหารตนเอง สืบเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญคือ ความขัดแย้งภายในคณะราษฎรอันเกิดจากการเสนอ "เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ" หรือเรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" สู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา 14 คน โดยประชุมในวันที่ 12 มีนาคม 2476 ในการประชุมมีความเห็นแตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่คัดค้านนำโดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิศาลวาจา และพระยาทรงสุรเดช ด้วยเห็นว่าเป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดตามแนวทางสังคมนิยม และฝ่ายสนับสนุนนำโดย หลวงประดิษฐมนูธรรม นายแนบ พหลโยธิน นายทวี บุณยเกตุ และ ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ ทำให้มติของคณะอนุกรรมการไม่เป็นที่เด็ดขาด ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มเติม
                หลังจาก คณะรัฐมนตรีใช้เวลาพิจารณาถึง 2 ครั้งในวันที่ 25 และ 28 มีนาคม 2476 โดยหลวงประดิษฐฯ ยืนยันว่าจะลาออกหากคณะรัฐมนตรีไม่เห็น ชอบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการให้หลวงประดิษฐฯ ลาออก แต่ในการประชุมครั้งที่สอง ฝ่ายพระยามโนฯ ได้นำพระราชบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วยว่า หากจะประกาศใช้เค้าโครงเศรษฐกิจ ฯ ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ก็ขออย่าได้ประกาศในนามของพระองค์  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติไม่ให้ความเห็นชอบเค้าโครงการเศรษฐกิจฯ ถึง 11 เสียง ต่อ 3 เสียง (งดออกเสียง 5 คน) จากจำนวนผู้เข้าประชุม 19 คน
                มีความเห็นหลายฝ่ายมองว่า "สมุดปกเหลือง" นั้นมีลักษณะเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ บ้างถึงกับกล่าวว่าถ้านายปรีดีไม่ลอกมาจากสตาลิน สตาลินก็ต้องลอกมาจากนายปรีดี ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ พระยาทรงสุรเดช ชักนำพระยาฤทธิ์อัคเนย์ และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ทหารเสืออีก 2 คน สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ แต่ในส่วนของบรรดานายทหารคณะราษฎรส่วนใหญ่รวมทั้งพระยาพหลพลพยุหเสนายังคงให้การสนับสนุนนายปรีดีอยู่
                นอกจากนี้ การที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่อนุญาตให้คณะชาติจดทะเบียนสมาคม อีกทั้งสั่งห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ที่ต้องการจัดตั้งคณะชาติ ในวันที่ 17 มีนาคม 2476 มีกระทู้ถามรัฐบาลเรื่องคำสั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง ในวันที่ 30 มีนาคม ที่ประชุมสภาฯ มีมติว่า รัฐบาลกระทำผิดรัฐธรรมนูญและให้ถอนคำสั่ง คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนฯ มีการเคลื่อนไหวกดดันฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีว่า จะพกปืนเข้าที่ประชุมสภาฯ เช่นเดียวกับคณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ฯ จึงเป็นเหตุให้มีการค้นตัวผู้เข้าร่วมประชุม และริบอาวุธ หากมีการตรวจเจอ ทำให้เกิดความไม่พอใจ และกล่าวโจมตีนายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง
เหตุการณ์การรัฐประหาร -- ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ทำให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ หใทรงออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 เมษา พ.ศ. 2476 และให้อำนาจรัฐบาลในการสามารถออกกฎหมายโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย

ที่มา 
http://th.wikipedia.org/wiki


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น