วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

รัฐประหารครั้งที่ 5 : 29 พฤศจิกายน 2494


สาเหตุและเหตุการ  :  การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 ของคณะทหารที่เรียกตนเองว่า คณะบริหารประเทศชั่วคราวเป็นผลต่อเนื่องมาจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ได้ร่างรัฐธรรมนูญ 2492 หรือ รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยมที่กำหนดโครงสร้างทางการเมืองที่ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากในการควบคุมทางการเมืองผ่านวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้ง การที่ผู้สำเร็จราชการฯเข้าแทรกแซงกิจการทางการเมือง และการกีดกัน คณะรัฐประหารออกไปจากการเมืองนั้น ทำให้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามบริหารราชการแผ่นดินด้วยความยากลำบาก การรัฐประหาร 2494 จึงเป็นการยุติอำนาจกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมออกไปจากการเมืองไทย ซึ่งเป็นสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างคณะทหารที่มีจอมพล ป. -ผู้นำที่มาจากคณะราษฎรกับกลุ่มอำนาจเก่าที่ยังคงดำรงอยู่ภายหลังการปฏิวัติ 2475 สาเหตุสำคัญของการรัฐประหาร คือ การยุติ รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยมผลจากการรัฐประหารครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลชุดเดิมสิ้นสุดลง ให้รัฐสภาทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ให้มี คณะบริหารประเทศชั่วคราวขึ้น การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ทำให้มีแต่เพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมี 2 ประเภท และให้ คณะบริหารประเทศชั่วคราวดำเนินการกราบทูลพระกรุณาเพื่อตั้ง สมาชิกสภาประเภท 2 ต่อไป จากนั้นให้มีการตั้งรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป     คณะบริหารประเทศชั่วคราวประกอบด้วย พลเอกผิน ชุณหะวัณ ,พลโท เดช เดชประดิยุทธ์ ,พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ,พลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล  ,พลเรือตรี หลวงชำนาญอรรถยุทธ ,พลเรือตรี สุนทร สุนทรนาวิน ,พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ,พลอากาศโท หลวงเชิดวุฒากาศ ,พลอากาศ หลวงปรุงปรีชากาศ            

ผลที่ตามมา  :  การยกเลิกรัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยมโดย คณะบริหารประเทศชั่วคราวมีขึ้นก่อนพระมหากษัตริย์ทรงเสด็จนิวัตรพระนครไม่กี่วัน การรัฐประหารครั้งนี้เป็นการยุติการครอบงำรัฐสภาโดยวุฒิสภากุล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม และลดอำนาจของพระมหากษัตริย์ออกจากการเมือง โดยจอมพล ป. ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 กลับมาใช้อีกครั้งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น