วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

รัฐประหารครั้งที่ 3 : 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490


พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อันมีสาเหตุมาจากการที่ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์ ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ ปัญหาเศรษฐกิจล้มเหลวภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง รวมถึงผลการสอบสวนเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8ที่ไม่ชัดเจนชี้ชัด ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียมแจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร ทว่าความปรากฏภายหลังว่าเป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" หรือ การที่รัฐบาลถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในการส่งข้าวชั้นดีออกขายนอกประเทศ เหลือแต่เพียงข้าวหักสำหรับเลี้ยงสัตว์ไว้ให้ประชาชนบริโภคเองในประเทศ  ทำให้ฝ่ายค้านโดยพรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ติดต่อกัน คือระหว่างวันที่ 19 - 26 พฤษภาคม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ  เป็นต้น อีกทั้งรัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่ายชองปรเทศ ด้วยการปลดประจำการทหารหลายนาย สร้างความไม่พอใจในหมู่ทหารที่ถูกปลด ความคิดที่จะเปลี่ยนผู้นำจึงเกิดขึ้น
ในขณะนั้นมีข่าวลือและความเป็นไปได้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า อาจเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น สำหรับตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ แล้ว เมื่อนักข่าวซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ตอบว่า "ก็นอนรอการปฏิวัติอยู่แล้ว" เพราะมั่นใจในศักยภาพของรัฐบาลตัวเอง ว่ามีผู้บัญชาการทหารบก (พล.ต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส) ให้การสนับสนุนอยู่


พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ


พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์


เหตุการณ์การรัฐประหาร 
     การรัฐประหารครั้งนี้ เดิมทีกำหนดให้เกิดขึ้นในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน แต่ทว่า พล.ต.อ.อดุล ผู้บัญชาการทหารบก ทราบเสียก่อน จึงมีคำสั่งเรียกให้นายทหารทุกชั้นเข้ามารายงานตัว คณะผู้ก่อการจึงเลื่อนกำหนดเดิมให้เร็วขึ้นหนึ่งวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน เมื่อกองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล และรถถังอีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปประตูทำเนียบท่าช้างวังหลวงเพื่อควบคุมตัว นายปรีดี พนมยงค์ แต่นายปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัวนายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภรรยาและลูก ๆ เท่านั้น
เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้แถลงต่อสื่อมวลชนด้วยสภาพน้ำตานองหน้า ว่าทำไปเพราะความจำเป็น จนได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษเจ้าน้ำตา" หรือ "บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล" และเรียกกลุ่มของตนเองว่า "คณะทหารแห่งชาติ" รวมทั้งได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยุติบทบาททางการเมืองไปแล้วในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งชาติ ซึ่งสาเหตุของการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้ปรากฏอยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 หรือที่เรียกกันว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม" ที่ถูกนำออกมาใช้หลังจากนั้น ว่า
บัดนี้ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์ ประชาชนพลเมืองได้รับความลำบาก เดือดร้อน เพราะขาดอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และขาดแคลนสิ่งอื่น ๆ นานัปการ เครื่องบริโภคอุปโภคทุกอย่างมีราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมทรามในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อนผู้บริหารราชการแผ่นดินและสภาไม่อาจดำเนินการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้กลับสู่ภาวะดังเดิมได้เป็นการผิดหวังของประชาชนทั้งประเทศถ้าจะคงปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ก็จะนำซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติ… ”

จากนั้นคณะทหารแห่งชาติ จึงให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สัญญาว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน ซึ่งคณะทหารแห่งชาติได้ตั้งสภาขึ้นมา ใช้ชื่อว่า "คณะรัฐมนตรีสภา" และจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นรัฐบาลพลเรือน แต่ทว่า ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน นำโดย น. อ. กาจ กาจสงคราม ก็ได้ทำการบีบบังคับให้นายควงลาออก และแต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน




ที่มา 
http://arinwan.info/index.php?topic=1705.0;wap2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น