รัฐประหารครั้งที่ 4
เป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2491
เป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2491
กลุ่มผู้ก่อการรัฐประหาร : รัฐประหารวันที่ 6 เมษายน
พ.ศ.2491
เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2491
เป็นการทำรัฐประหารโดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์
ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิการยน
พ.ศ.2490
ซึ่งกลุ่มคนกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่สนับสนุน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ผู้บัญชาการทหารบก
อดีตนายกรัฐมนตรี
ที่พ้นจากตำแหน่งภายหลังสิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 2
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสด์
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
สาเหตุ : หลังจากนั้นมีกลุ่มนายทหารกลุ่มหนึ่ง มีแกนนำโดย
พล.ท.ผิน ชุณหวัณ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ พล.ร.ต.ถวัลย์
แล้วได้แต่งตั้งให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชื่อ
นายควง อภัยวงศ์ เป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่
6
มกราคม พ.ศ.2491
ต่อมาในการเลือกตั้งในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2491 พรรคที่ชนะในการเลือกตั้งคือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดในสภาฯ ทำให้
นายควง อภัยวงศ์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมา ในวันที่ 29 มกราคม
พ.ศ.2491
ได้มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง
เรียกตัวเองว่า
"คณะประชาธิปไตย"
ประกอบกับมีนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง
มีแกนนำโดย
พล.ท.พระยาเทพหัสดิน รวมถึง
ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่ง ได้รวมตัวกันสนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งคนกลุ่มนี้กล่าวว่าจะขอ "สนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตลอดกาล"
ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนตัวรวมกันที่ท้องสนามหลวงและสวนลุมพินี รวมถึงได้ล่ารายชื่อคนที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม
พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายควง อภัยวงศ์
ลำดับเหตุการณ์ : จากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2491 เวลา 8.00 น. ซึ่งตรงกับวันจักรี
มีกลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน คือ
พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท , พล.ต.สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ ,
พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย
อุทยานานนท์
ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืน
เข้าพบ นายควง อภัยวงศ์
ที่บ้านพักในซอยตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ
อ้างเหตุเรียกร้องให้ นายควง
อภัยวงศ์ จ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท
อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับจากเชียงตุง หลังสิ้นสุดการทำสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจากกระทรวงการคลัง จำนวน 9 ล้านบาท แต่นายควง
อภัยวงศ์ ไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างนายควง อภัยวงศ์
กับนายทหารกลุ่มนี้มาอยู่แล้ว
ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่า
จะเกิดการรัฐประหารซ้อน
และขอให้ นายควง อภัยวงศ์
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง โดยอ้างเหตุผลว่า คณะนายทหารที่ทำการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน
พ.ศ.2490
นั้น เห็นว่ารัฐบาล นายควง
อภัยวงศ์ ไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะบ้านเมืองที่ตกต่ำลงได้
และเมื่อนายทหารกลุ่มนี้กลับไปจากบ้าน นายควง อภัยวงศ์แล้ว
ในเวลาเที่ยง นายควง อภัยวงศ์ ได้ส่งนายทหารคนสนิทเข้าพบนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นแกนนำในการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 8
พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ที่วังสวนกุหลาบ เพื่อขอคำยืนยันในเรื่องนี้ ต่อมาเวลา
14.00 น.
พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้เดินทางมาพบ นายควง
อภัยวงศ์ ด้วยตัวเองถึงบ้านพัก และยืนยันถึงความต้องการของคณะนายทหารทั้ง 4 คน
นายควง อภัยวงศ์ พยายามติดต่อกับผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อขอความคุ้มครอง แต่ไม่เป็นผล
ต่อมานายควง อภัยวงศ์
ได้เรียนประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่บ้านพัก ในการประชุมถึงแม้ว่า นายบุญแท่ง
ทองสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า
จะเป็นผู้สั่งการให้ตำรวจทำการจับกุมคณะนายทหารกลุ่มนี้ในฐานะที่เป็นกบฎ แต่ในที่ประชุมก็ไม่เห็นด้วย เพราะกลัวว่าจะเกิดการนองเลือดขึ้น ต่อมาเวลา
16.00 น.
ที่ประชุมได้ร่างใบกราบบังคมทูลลาออกของนายควง อภัยวงศ์
และมีมติให้ นายควง อภัยวงศ์
พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในวีนที่ 8 เมษายน
พ.ศ.2491
และเมื่อถึงปลายเดือนเมษายน พ.ศ.2491 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายควง อภัยวงศ์
ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นครองอำนาจของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ที่ยาวนานเกือบ 10
ปี
การทำรัฐประหารในครั้งนี้
เป็นการกระทำภายในใช้นายทหารเพียงไม่กี่คน
ไม่มีการเคลื่อนย้ายกำลังพลใดๆ
จึงได้ชื่อว่า
"รัฐประหารเงียบ"
หรือ
"รัฐประหารซ้อน"
ซึ่งมีสื่อมวลชนเรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าเป็น "การจี้นายกรัฐมนตรี"
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/node/29445
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/node/29445
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น