รัฐประหารครั้งที่
8 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นำโดย จอมพลถนอม
กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย
ที่เป็นการ ยึดอำนาจตัวเอง
สาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 นำโดย นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส.จังหวัดอุดรธานี
ได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ตามที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาไว้ในช่วงเลือกตั้ง
เมื่อไม่ได้รับการตอบแทนดังที่สัญญาไว้ ส.ส.เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ
นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้ จอมพลถนอม
หัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับฉายาสมัยนั้นว่า “นายกฯคนซื่อ” ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ในสภาฯ ได้ จึงทำการยึดอำนาจตนเองขึ้น
โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต
แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า คณะปฏิวัติ
สถานการณ์รัฐประหาร วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
รัฐประหารวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย ที่เป็นการยึดอำนาจตัวเอง เหมือนรัฐประหาร
พ.ศ. 2494 ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยการเกิดการรัฐประหารในครั้งนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอมกิตติขจร
นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 ได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆตามที่จอมพลถนอม กิตติขจรได้เคยสัญญาไว้ในช่วงเลือกตั้ง
เมื่อไม่ได้รับการตอบแทนดังที่สัญญาไว้ส.ส.เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็ นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็
นเหตุให้จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับฉายาสมัยนั้นว่า
“นายกฯคนซื่อ” ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ในสภาฯ ได้
จึงทำการยึดอำนาจตนเองขึ้น โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต
แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า คณะปฏิวัติโดยมีคำปรารภในการยึดอำนาจตัวเองครั้งนี้ว่า
“ภัยที่คุกคามประเทศและราชบัลลังก์ สถานการณ์ภายใน ความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอกสภานิติบัญญัติ
การนัดหยุดงานของกรรมกร การเดินขบวนของนักศึกษา การแก้ไขสถานการณ์ถ้าจะดำเนินการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญย่อมไม่ทันต่อเหตุการณ์
จึงจำเป็นต้องใช้การยึดอำนาจการปกครองเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้โดยเฉียบขาดและฉับพลัน”
จากนั้นคำสั่งของคณะรัฐประหารได้สั่งให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี
พ.ศ. 2511 ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้น และยกเลิกรัฐสภา
ยกเลิกพรรคการเมืองและประกาศห้ามมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
คณะปฏิวัติได้ครองอำนาจมาถึงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.
2515 ให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้และตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มีมติให้จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งในธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับนี้มีการนำเอารัฐธรรมนูญมาตรา
17 กลับมาใช้อีกครั้งเหมือนยุคของจอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต์ ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเต็มที่ในการสั่งการใด
ๆ อันเนื่องจากเหตุที่กระทบต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภาฯ
หรือ มีกฎหมายฉบับใด ๆ มารองรับ
จอมพลถนอม
กิตติขจร ได้รวบอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว ท่ามกลางความไม่พอใจของนิสิตนักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป
ที่ไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองอย่างถาวรมาตั้งแต่การยึดอำนาจของจอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต์
ในปี พ.ศ. 2501 แล้ว ซึ่งกว่าที่รัฐธรรมนูญฉบับปี
พ.ศ. 2511 ที่ถูกยกเลิกไปในการรัฐประหารก็ต้องใช้เวลาร่างนานถึง
10 ปี ประกอบกับเหตุการณ์ทุจริตต่าง ๆ ในรัฐบาล ก็กลายเป็นการชุมนุมใหญ่ในวันที่
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในอีก
2 ปี ต่อมา
ซึ่งหลังจากการรัฐประหารไม่นาน
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ส.ส.จังหวัดชลบุรี ของพรรคประชาธิปัตย์พร้อมด้วย ส.ส.
อีก 2 คน จังหวัดชัยภูมิ พรรคเดียวกัน คือ นายอนันต์
ภักด์ิประไพและนายบุญเกิด หิรัญคำ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน
ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา แต่แล้วศาลได้ตีความ และทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย
และสั่งให้จำคุกเป็นเวลา 10 ปี แต่ทั้งหมดได้ถูกปล่อยตัวก่อนเกิดเหตุการณ์
14 ตุลา ไม่นาน
ที่มา
http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2554/poli20954sn_ch4.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น